โครงการการศึกษาจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม
โรงพยาบาลท่าสองยาง (ส่วนขยาย) ครั้งที่ 2

ความเป็นมาของโครงการ
เหตุผลความจำเป็น
:
โรงพยาบาลท่าสองยาง ได้มอบหมายให้มหาวิทยาลัยนเรศวรเป็นที่ปรึกษาในการจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม เพื่อขยายจำนวนเตียงรักษาพยาบาล จากเดิม 30 เตียง เป็น 60 เตียง
โดยรายงานฯ ดังกล่าว ได้รับความเห็นชอบให้ดำเนินการ หนังสือเลขที่ ทส1009.5/333 ลงวันที่ 13 มกราคม 2553  จนกระทั่งปัจจุบันมีจำนวนเตียงรักษาพยาบาลมีจำนวนเตียงรักษาพยาบาล 60 เตียง แต่เนื่องจากในปัจจุบันมีผู้ป่วยเข้าใช้บริการโรงพยาบาลมีแนวโน้มเพิ่มอย่างต่อเนื่อง โรงพยาบาลกรุงเทพระยองจึงมีความประสงค์ จะเพิ่มขีดความสามารถในการรักษาพยาบาลโดยการสร้างอาคารผ่าตัด
ผู้ป่วยหนัก และผู้ป่วยใน เป็นอาคาร คสล. 5 ชั้น ซึ่งจะทำให้โรงพยาบาลมีเตียงรักษาพยาบาลเพิ่มเป็น 120 เตียง โดย โรงพยาบาล ได้มอบหมายให้มหาวิทยาลัยนเรศวร เป็นที่ปรึกษาในการจัดทำรายงาน การประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) เพื่อส่งให้สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) พิจารณาเพื่อประโยชน์ในการลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม ที่อาจเกิดขึ้นภายใน
พื้นที่โรงพยาบาลและบริเวณพื้นที่รายรอบโรงพยาบาล เป็นการเตรียมการควบคุมป้องกัน เฝ้าระวังและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อม ตลอดจนรับฟังความคิดเห็น ข้อห่วงกังวล ของเจ้าหน้าที่โรงพยาบาล
ผู้ใช้บริการโรงพยาบาล สถานศึกษา สถานพยาบาล ศาสนสถาน สถานที่ราชการ ผู้นำชุมชน และประชาชนที่อยู่อาศัยอยู่ในบริเวณ โดยรอบโรงพยาบาลในรัศมี 1,000 เมตร ด้วย

วัตถุประสงค์ของโครงการ :
1) เพิ่มศักยภาพในการให้บริการทางการแพทย์รองรับการบริการทางการแพทย์ในจังหวัดตาก
2) พัฒนาขีดความสามารถในการรักษาพยาบาลโดยการสร้างอาคารผ่าตัดผู้ป่วยหนัก และผู้ป่วยในทั้งนี้เพื่อเพิ่มจำนวนเตียงเป็น 120 เตียง
3) ทำให้เกิดการเข้าถึงระบบบริการทางการแพทย์ทุกระดับชั้นบริการตรวจรักษา เพื่อลดอัตราการรอคอย และลดการส่งต่อผู้ป่วย

สาระสำคัญ : การจัดประชุมรับฟังความคิดเห็นของประชาชน เป็นการจัดประชุมกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย/กลุ่มเป้าหมาย ที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อมจากการพัฒนาโรงพยาบาลท่าสองยาง (ส่วนขยาย) ครั้งที่ 2 รวมถึงหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนประชาชนในพื้นที่ที่สนใจ จำนวน 50 คน

การรับฟังความคิดเห็น : วันที่ 14 สิงหาคม 2563 ณ โรงยิมฯ ของเทศบาลตำบลแม่ต้าน อำเภอท่าสองยาง จังหวัดตาก

กำหนดการประชุมรับฟังความคิดเห็นของประชาชน
เอกสารประกอบการประชุม
สื่อประชาสัมพันธ์:



Copyright 2020, AEI R&D Unit, All rights reserved.
Tel/Fax: 055-962822 c/o AG2101
Webmaster AEI: piyamatt@nu.ac.th, piyamat.pattharin@gmail.com